วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

สถาปัตยกรรมยุโรป 2

 



 
ตลอดหลายยุคสมัย ผู้คนได้ท้ายทายข้อจำกัดทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม เพื่อความพยายามที่จะได้ใกล้คิดกับพระเจ้ามากขึ้น มีบางกลุ่มพยายามหาประโยชน์ใช้สอยจากหอคอยในการทำเสาอากาศภัตตาคาร แต่สิ่งดึงดูดใจที่แท้จริงกลับมาจากความคิดที่บริสุทธิ์มากกว่านั้น
        
     หอคอยเป็นสิ่งที่แสดงถึงความทะเยอทยานของมนุษย์ และหอคอยที่โลกรักมากที่สุดคือ หอไอเฟล (Eiffel Tower) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นหอคอยที่มีความสูงเสียดฟ้า มีความงามสง่า รูปร่างอ่อนช้อย ซึ่งสะท้อนให้เห็นจิตวิญญาณของฝรั่งเศส หอไอเฟลได้รับการออกแบบและก่อสร้างในปี ค.ศ.1839 มันคือผลงานชิ้นเอกในการฉลองการปฏิวัติฝรั่งเศสอันนอเลือดเมื่อ 100 ปีก่อนหน้า

        14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 ท่ามกลางความต้องการที่จะปฏิวัติ ชาวปารีสได้เข้าโจมตีชนชั้นสูง บุกยึกคุกบัสติล ซึ่งมีผู้มีความคิดขัดแยงทางการเมืองถูกคุมขังเอาไว้ ผู้รัก-ชาติได้รวมตัวกันเพื่อต่อต้านชนชั้นปกครอง ซึ่งเป็นการสร้างพื้นฐานสำหรับการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยยุคใหม่

        อีก 1 ศตวรรษหลังการปฏิวัติ ความภาคภูมิใจของฝรั่งเศสถูกบั่นทอนด้วย ความพ่ายแพ้ของกองทัพต่อเยอรมัน ในปี 1870 และก็ ความคิดที่จะจัดงานแสดงสินค้านานาชาติ จึงเป็นหนทางอันยิ่งใหญ่เพื่อลืมความปวดร้าว และ เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ ความร่ำรวยของประเทศ จึงจำเป็นที่ต้องมีผลงานศิลปะชิ้นเอกที่อวดแก่ฝูงชน และจากความสำเร็จในยุคอุตสาหกรรมจึงนำเสนอความสำเร็จทางวิศวกรรม นั่นคือ หอคอย

        หอคอยเหมือนเป็นสิ่งที่ชาญฉลาดทางเทคโนโลยี ในอดีตไม่เคยมีใครสร้างหอคอยที่สูงกว่า 1,000 ฟุต หลายคนพยายามลอง แม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกาก็มีการออกแบบไว้อยู่หลายแบบ แต่ก็ไม่เคยสร้างจริงขึ้นมา ฝรั่งเศสได้จัดการประกวดเพื่อออกแบบหอคอย แบบแรกถูกเสนอโดย เวอร์ริส คล็อกลิน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะวิศวกรของ กุสตาฟ ไอ-เฟล (Gustave Eiffel)

        กุสตาฟ ไอเฟล เป็นทั้งสถาปนิกและวิศวกรชั้นนำของฝรั่งเศส ชื่อเสียงของเขาเกิดจาก การออกแบบสะพานที่เต็มไปด้วยจินตนาการ เขาค้นคว้าเกี่ยวกับแนวคิดในการออกแบบด้วยโครงสร้างโลหะ การที่มี กุสตาฟ ไอเฟล เข้ามาร่วมงาน จึงเป็นเครื่องรับประกันในเรื่องเงินทุนสนับสนุน และความสำเร็จของงาน วิศวกรหนุ่มของ กุสตาฟ ไอเฟล 2 คน คือ เวอร์ริส คล็อกลิน และ เอมิล นูลจิเย เริ่มแนวคิดในการสร้างหอคอยสูง 300 เมตร สำหรับงานแสดงสินค้าในปี ค.ศ.1890 ในปารีสเขาเริ่มร่างแบบโครงสร้างของหอ-
คอยอย่างคร่าวๆ และขอให้สถาปนิกชื่อ
สตีเฟน สเตาว์เธอร์ ออกแบบส่วนตกแต่งเพื่อเติม ซึ่งมีลักษณะเป็นช่อดอกไม้ โค้ง และมีปติมากรรมเล็กๆ น้อยๆ โดยมีแรงบันดาลใจมาจากแนวคิดทางสถาปัตยกรรมฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1887 ว่า สามารถสัมผัสกับท้องฟ้าในระดับที่เป็นไปไม่ได้ คือ 1,000 ฟุต

        กุสตาฟ ไอเฟล ได้เห็นแบบแปลนและอนุมัติ เขาได้สนใจแนวคิดเกี่ยวกับหอคอยนี้ และได้ออกแบบส่วนตกแต่งเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาเข้าไปด้วย การมีชื่อ กุสตาฟ ไอเฟล อยู่ในโครงการ ทุกคนรู้ผลลัพธ์ของการแข่งขันนี้ การมีสายสัมพันธ์ทางการเมืองและสังคมของกุสตาฟ ไอเฟล ทำให้มีความพร้อมที่จะผลักดันให้โครงการผ่านหน่วยงานปกครองของปารีสได้อย่างรวดเร็ว และทำให้โครงการจากแบบแปลนสำเร็จเป็นจริงได้ หอคอยซึ่งออกแบบจากความก้าวหน้าในยุคอุตสาหกรรม เป็น งานที่มีความท้าทาทางวิศวกรรม และ กุสตาฟ ไอเฟล จะได้แสดงให้เห็นถึงความความคิดสร้างสรรค์ของเขาที่เคยใช้ในการออกแบบมาแล้ว

        28 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1887 กุสตาฟ ไอเฟล ได้เชิญแขกมากมายมาเป็นพยานในการก่อสร้าง เขาอายุ 53 ปี และหอคอยจะเป็นความสำเร็จที่สมบูรณ์แบบของเขา ในขณะที่พิธีการเริ่มขึ้น วิศวกร 50 คนต้องช่วยกันร่างแบบ จำนวน 5,300 แผ่นสำหรับคนงาน 132 คน ใช้ในพื้นที่ก่อสร้าง ต้องใช้เวลา 4 เดือน ในการทำฐานรากสำหรับขาของหอ-
คอย
เสา 2 ต้น ถูกติดตั้งบนฐานคอนกรีตหนา 6 ฟุตครึ่ง ที่ความลึก 23 ฟุตจากระดับดิน และมีขา 2 ข้างที่ใกล้กับแม่น้ำแซนมาก จึงต้องใช้เขื่อนโลหะกันน้ำ ป้องกันในขณะที่ทำการเทคอนกรีตบนพื้นที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำ





 

 


 กำแพงเบอร์ลิน 
(เยอรมัน: Berliner Mauer อังกฤษ: Berlin Wall) 
เป็นกำแพงที่กั้นเบอร์ลินตะวันตกออกจากเยอรมนีตะวันออกโดยรอบ เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และตั้งอยู่เป็นระยะเวลา 28 ปี มีความยาวทั้งสิ้น 155 กิโลเมตร
(จากรูป กำแพงเบอร์ลินถ่ายจากเยอรมันตะวันตก)
จุดประสงค์ของการสร้างกำแพงเบอร์ลิน:

       เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่2จบลง ประเทศเยอรมนีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลก (หนึ่งในกลุ่มอักษะ นอกจากอิตาลี ญี่ปุ่น) หลังจากนั้นเยอรมนีถูกแบ่งเป็นสองประเทศคือ เยอรมนีตะวันตก กับ เยอรมนีตะวันออก สาเหตุหลักที่สร้างกำแพงนี้เพื่อปิดกั้นพรมแดนเบอร์ลินตะวันตกซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของเยอรมันตะวันตก ออกจากเยอรมนีตะวันออกที่โอบล้อมอยู่โดยรอบ

     ใน เยอรมันตะวันออก กำแพงเบอร์ลินคือแนวเขตแดนที่มั่นคง และสัญลักษณ์ของการต่อต้านทุนนิยม แต่สำหรับโลกเสรีแล้ว เป็นสัญลักษณ์ของความขัดแย้งระหว่างระบบทุนนิยมของยุโรปตะวันตกภายใต้การนำ ของสหรัฐอเมริกากับระบบคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออกภายใต้การปกครองของสหภาพ โซเวียต หรือที่เรียกกันว่า สงครามเย็น นั่นเอง กำแพงเบอร์ลิน ทำให้กรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก กลายเป็นเสมือนหน้าต่างสู่เสรีภาพ




 








 หอเอนเมืองปิซา (อิตาลี: Torre pendente di Pisa หรือ La Torre di Pisa, อังกฤษ: Leaning Tower of Pisa) ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 183.3 ฟุต (55.86 เมตร) น้ำหนักรวม 14,500 ตันโดยประมาณ มีบันได 293 ขั้น เอียง 3.97 องศา ยอดของหอห่างจากแนวตั้งฉาก 3.9 เมตร


กาลิเลโอ กาลิเลอิ เคยใช้หอนี้ทดลองเกี่ยวกับเรื่อง แรงโน้มถ่วง ในตอนที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซา โดยใช้ลูกบอล 2 ลูกที่น้ำหนักไม่เท่ากันทิ้งลงมา เพื่อพิสูจน์ว่า ลูกบอล 2 ลูกจะตกถึงพื้นพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นไปตามที่กาลิเลโอคาดไว้

ในปี ค.ศ.1934 เบนิโต มุสโสลินี พยายามจะทำให้หอกลับมาตั้งฉากดังเดิม โดยเทคอนกรีตลงไปที่ฐาน แต่กลับทำให้หอยิ่งเอียงมากขึ้นไปอีก กองทัพสหรัฐฯ ตัดสินใจไม่ยิงปืนใหญ่ใส่หอเอนเมืองปิซา

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1964 รัฐบาลอิตาลี พยายามหยุดการเอียงของหอเอนเมืองปิซา โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น วิศวกร นักคณิตศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ โดยใช้เหล็กรวมกว่า 800 ตัน ค้ำไว้ไม่ให้หอล้มลงมา

ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1990 หอเอนเมืองปิซาถูกปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งยังขุดดินของอีกด้านหนึ่งออก เพื่อให้สมดุลยิ่งขึ้น และในวันที่ 15 ธันวาคม 2001 หอเอนเมืองปิซาถูกเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอีกครั้ง และถูกประกาศว่าสมดุลแล้วใน 300 ปีต่อมาหลังจากเริ่มทำการปรับปรุง

ค.ศ.1987 หอเอนเมืองปิซาถูกประกาศให้เป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Piazza Dei Miracoli หอเอนเมืองปิซายังเป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางอีกด้วย

  • นอกจากนี้หอเอนเมืองปิซานี้ช่วยให้กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีชื่อเสียงของโลก ได้ทดลองความจริง เรื่องน้ำหนักของของที่ตกเป็นผลสำเร็จอีกด้วย*




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น