วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

คตีกวีเอกของโลก






คีตกวีเอกของโลก



โชแปง มีฉายาว่า กวีแห่งเปียโน (Piano Poet) เพราะเขารักเสียง

เปียโนเป็นชีวิตจิตใจ เขาเกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1810 ใกล้

กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ บิดาเป็นชาวฝรั่งเศส มารดาเป็นชาว

โปแลนด์ เขาจึงเป็นชาวโปแลนด์ตามเชื้อสายของแม่ เขามีพี่น้อง

ผู้หญิงอีก 3 คน พ่อแม่จึงรักเขามากเพราะเขาเป็นผู้ชายเพียงคนเดียว 

ครอบครัวของเขาเคยมีฐานะดีมาก่อนแต่มายากจนในภายหลัง

เมื่อโชแปงอายุได้ 2-3 เดือน พ่อแม่ก็ย้ายครอบครัวไปอยู่ที่วอร์ซอ พ่อ


ไปเป็นครูสอนภาษาฝรั่งเศส โชแปงเริ่มเรียนเปียนโนเมื่ออายุได้ 6

ขวบกับ Adalbert Zywny ครูผู้ชื่นชอบดนตรีของ Bach , Mozart และ

Beethoven แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเรียนกับ Joseph Elsner ซึ่งเป็นครู

เปียโนโดยตรง

โชแปงได้แสดงเปียโนต่อหน้าสาธารณชนตั้งแต่อายุ 7-8 ขวบ ทุกคน


เลื่องลือในความสามารถอันมหัศจรรย์ของเขา นิ้วที่พลิ้วไหว และเสียง

ดนตรีที่มีอารมณ์ทำให้ผู้คนร่ำลือ เขาได้แสดงต่อๆมาอีกหลายครั้งทั่ว

ยุโรป จนกระทั่งครั้งหนึ่งพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียถึงกับประทานแหวน

เพชรให้

โชแปงเป็นคนรูปร่างบอบบาง อ่อนแอ เป็นคนที่มีจิตใจอ่อนไหวง่าย มี


ความรู้สึกรักชาติ รักมาตุภูมิมาตั้งแต่เด็กเพราะ เขาได้เห็นภาพที่ทหาร

ปรัสเซีย (เยอรมัน) ออสเตรียและรัสเซีย เข้ารุกรานประเทศบ้านเกิด

เมืองนอนของเขา แทบทุกวันที่โชแปงมองออกไปนอกบ้านเขาจะ

เห็นทหารรัสเซียฉุดกระชากทุบตีนักโทษชาวโปแลนด์ที่ผอมโซ ผู้ซึ่ง

ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎ ต่อต้านระบบทรราชย์ และกำลังจะถูกเนรเทศ

ไปอยู่ไซบีเรีย

ความรู้สึกหดหู่คับแค้นใจอันนี้เกิดเป็นแรงบันดาลใจทำให้เขาเขียน


เพลงเพื่อมาตุภูมิของเขา กล่าวกันว่าเพลงชิ้นแรกที่เขาประพันธ์เมื่อ

อายุ 7 ขวบ คือ Polonaise in G Minor แต่เพลง Polonaise ที่มีชื่อเสียง

ของเขา คือ POLONAISE IN A-FLAT MAJOR, OPUS 53

เมื่อเขาเริ่มเป็นหนุ่มอายุประมาณ 19 ปี ในปี ค.ศ. 1829 เขาไปหลงรัก


ผู้หญิงคนหนึ่ง ชื่อ คอนสทันย่า ( Constantia Gladkowska ) 

โชแปงเกิดความรักจนมีแรงบันดาลใจให้เขียนเพลงท่อนที่เรียกว่า

 ลาร์เก็ตโต ( Larghetto ) ในผลงาน Piano Concerto No.2 in F minor

ในราวสองปีต่อมา คอสทันยาของเขาก็แต่งงานไปกับพ่อค้าผู้มั่งคั่ง


แห่งวอร์ซอว์

ผู้หญิงอีกคนหนึ่ง ที่โชแปงรักและเธอก็รักเขา คือ มาเรีย ว้อดซินสก้า


ซึ่งเป็นน้องสาวของเพื่อนที่เคยเรียนหนังสือมาด้วยกันตอนเด็กๆ 

โชแปงมาพบมาเรียที่เมือง เดรสเดน ประเทศเยอรมัน และโชแปงได้

แต่งเพลง Nocturne No.1 Bb ให้แก่เธอ

เมื่อโชแปงกลับจากเดรสเดนแล้ว เขาแต่งเพลงเกี่ยวกับความทรงจำ


ของเขาที่นั่น คือเพลง BALLADE No 1in G Minor Opus 23 ซึ่งเป็น

ที่เข้าใจกันได้ว่า มาเรีย วอดซินสก้า คือเนื้อหาของเพลงนี้ และเมื่อ

ชูมันน์ได้ฟังเพลงนี้ก็ลงความเห็นว่ามันเป็นเพลงที่งดงามมาก

ในภายหลังมาเรียได้แต่งงานไปกับท่านเคาน์โยเซฟ สตาร์เบค แต่ไม่


มีความสุขในชีวิตสมรส จนเวลาล่วงเลยไปถึง 7 ปี เธอจึงเลิกกับสามี

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1830 โชแปงต้องเดินทางออกนอก

ประเทศโปแลนด์เนื่องจากเขาเป็นบุคคลหนึ่งที่ปลุกระดมให้ชาว

โปแลนด์ต่อต้านการครอบครองของออสเตรียและรัสเซีย

พ่อแม่ พี่น้อง อาจารย์และเพื่อนๆเศร้าใจกับการที่เขาต้องจากไป จึง


ได้มอบก้อนดินของโปแลนด์ให้เขาเอาติดตัวไป และก้อนดินก้อนนั้น

โชแปงได้เก็บไว้จนวาระสุดท้ายของชีวิต


เมื่อเขาเดินทางจากโปแลนด์ไปอยู่ฝรั่งเศส เขาหลงใหลในตัวแม่ม่าย


ลูกติด นักเขียนชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1837 โชแปงได้เริ่มมีความ

สัมพันธ์กับยอร์ช ชังค์นักประพันธ์ผู้กำลังมีชื่อเสียง ชื่อจริงของเธอ คืด

  ออโรร์ ดือ เดอวองต์ ผู้มีอายุแก่กว่าโชแปงถึง 6 ปี หล่อนเขียนบท

ความลงในหนังสือพิมพ์ ฟิกาโร และ เรอวู เดอ ปารีส์ หล่อนชอบสวม

เสื้อผ้าแบบผู้ชาย และสูบซิการ์ มีลูกติดสองคน และชอบเปลี่ยนคนรัก

อยู่บ่อยๆ โชแปงประทับใจในความเก่งกล้าสามารถ และความเข้มแข็ง

เด็ดเดี่ยวของเธอ เขาทั้งสองหลบไปอยู่ด้วยกันอย่างเงียบๆ และก็ได้

ทำให้โชแปงได้ละเลยเรื่องการงานทางด้านดนตรีไปมาก ซึ่งก็อาจ

เป็นเพราะอารมณ์อันอ่อนไหวของเขานั่นเอง

แล้ววันหนื่งเพื่อนและอาจารย์ Joseph Elsner ได้เดินทางมาหาเขาที่


ปารีส ขอร้องให้โชแปงช่วยแสดงคอนเสิร์ตเพื่อหาเงินไปช่วยเหลือ

ชาวโปแลนด์ที่ต่อสู้เพื่อเอกราช

แต่ในที่สุดเสียงเรียกร้องของความรักชาติ ก็กระตุ้นให้โชแปงได้หวน


กลับมาแสดงคอนเสิร์ตเพื่อหาเงินไปช่วยพี่น้องชาวโปแลนด์ของเขา 

แม้จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากยอร์ชชังค์ก็ตาม โชแปงได้ทราบข่าว

การเสียชีวิตของเพื่อนร่วมชาติอีกครั้ง ทำให้เขาต้องหยิบก้อนดินจาก

โปแลนด์ที่เพื่อนมอบไว้ให้เขาขึ้นมากำอย่างปวดร้าวใจ

“ ดินก้อนนี้ ตีตุสและพี่น้องได้ให้แก่เรามาเมื่อวันที่เราจะจากโปแลนด์


  เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เราระลึกถึงเสียงร่ำไห้ของพี่น้องชาว

โปแลนด์ที่อยู่เบื้องหลัง เพื่อเตือนให้เราขะมักเขม้นทำงานเสียสละ

เพื่อช่วยชาติ แต่เราได้ลืมคำสัญญาและคำสาบานของเราเสียสนิท แต่

นี้ไปเราต้องปฎิบัติตามคำสาบาน” เขากล่าวพร้อมกับยกก้อนดินขึ้นจูบ


            ดังนั้นในปี ค.ศ.1848 เขาจึงออกตระเวณแสดงคอนเสิร์ตไป


ตามเมืองหลวงของประเทศต่างๆ ลอนดอน แมดริด เวียนนา บาร์เซโล

น่า บรัสเซลส์ และเบอร์ลิน เพื่อนำเงินไปช่วยพี่น้องชาวโปแลนด์ต่อสู้

เพื่อเอกราช


ต่อมาในปี ค.ศ.1847 ความสัมพันธ์ของโชแปงกับยอร์ชชังด์ ก็สิ้นสุด


ลง เนื่องจากลูกชายของเธอยิ่งไม่ชอบโชแปงขึ้นทุกวัน และสุขภาพ

ของโชแปงก็เสื่อมทรุดลง เขามีอาการไอเป็นเลือดอยู่บ่อยๆ เพราะเขา

เป็นวัณโรคมาตั้งแต่อยู่โปแลนด์แล้ว เดอลาครัวซ์และเพื่อนๆได้มาพบ

เห็นโชแปงในสภาพที่ร่างกายทรุดโทรมและยากลำบากทางการเงิน 

พวกเขาจึงพากันช่วยเหลือ

พอวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1849 โชแปงก็อาการหนัก ลุกไม่ไหวและพูด


ไม่ค่อยได้แล้ว เขาขอให้เพื่อนๆช่วยเล่นเพลง “เรควิม” ( Requiem )

ของโมสาร์ทในงานศพของเขา และเขาได้กล่าวอำลาเพื่อนๆทุกคน 

และในที่สุด ใกล้จะรุ่งอรุณของวันที่ 17 ตุลาคม เขาก็สิ้นชีวิต เขามี

อายุเพียง 39 ปีเท่านั้น

งานศพของเขาที่ปารีส ใช้เวลาเตรียมงานศพถึง 13 วัน เพราะต้อง


เตรียมเรื่องนักร้องประสานเสียงที่จะมาร้องเพลง รีควีมของโมสาร์ท 

ซึ่งเป็นเพลงที่โชแปงชอบมาก ขบวนแห่ศพอันยาวเหยียดได้เริ่มขึ้น มี

การกล่าวสุนทรพจน์ตามประเพณีนิยม และในขณะที่โลงศพถูกหย่อน

ลงในหลุม ดินจากโปแลนด์ที่โชแปงได้เก็บรักษาไว้จนวาระสุดท้าย

ของชีวิตก็ได้ถูกโปรยลงไปในหลุมฝังศพด้วย





ที่หลุมฝังศพของเขามีคำจารึกว่า

พักอยู่ในความสงบ
วิญญาณอันงาม
ศิลปินผู้สูงส่ง
ความไม่มีวันตาย
ได้เริ่มขึ้นแก่ท่านแล้ว


มีภาพยนตร์หลายเรื่องที่นำเอาเพลงของโชแปงไปประกอบ เช่น The
 Lover , The Pianist ฯลฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น