วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

สถาปัตยกรรมเอเชีย

 


        องค์กร New 7 Wonders ได้มีการคัดเลือกและให้คนทั่วโลกร่วมโหวตผ่านทางอินเทอร์เน็ตและทางโทรศัพท์ มาตั้งแต่ปี 2005 จนกระทั่งได้รายชื่อสุดท้ายและประกาศให้สาธารณชนรับรู้ในปี 2007 โดยสิ่งก่อสร้างที่น่าตื่นตาตื่นใจทั้ง 7 แห่งดังกล่าวมีตั้งแต่ซากปรักหักพังของอารยธรรมอินคาไปจนถึงอนุสรณ์ความรัก อย่างทัชมาฮาล เอาล่ะ ถึงเวลาพาคุณไปสัมผัสกับความน่าอัศจรรย์ที่จะทำให้คุณรู้สึกอยากออกเดินทาง ท่องเที่ยวอีกครั้ง

ทัชมาฮาล      ได้รับการสร้าง ขึ้นจากหยาดเหงื่อแรงกายของชาย 20,000 คนและใช้เวลาก่อสร้างถึง 20 ปี ทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็นตัวอย่างชั้นเลิศของสถาปัตยกรรมมุฆัลใน อินเดีย ตั้งอยู่ในเมืองอัครา โดยเป็นอนุสาวรีย์แห่งความรักที่กษัตริย์ชาห์ จาฮัน ทรงรับสั่งให้เนรมิตขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ฝังศพของพระนางมุมทัซ มาฮาล มเหสีที่พระองค์รักมากที่สุด ทัชมาฮาลมีความสมมาตรในทุกด้าน สร้างขึ้นด้วยหินอ่อนฝังด้วยอัญมณีเพชรพลอยที่แตกต่างกัน 28 แบบ ในช่วงที่ทัชมาฮาลสร้างเสร็จสมบูรณ์ กษัตริย์ชาห์ จาฮัน ได้ถูกจองจำอยู่ที่คุกอักราโดยบุตรชาย และหลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต ก็ได้มีการนำพระศพมาฝังไว้เคียงข้างพระมเหสี ทัชมาฮาล สถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุด 







 พระราชวังหลวงกู้กง หรือ พระราชวังต้องห้าม      

      (Gu Gong or Imperial Palace or Forbidden City)
      ตั้งอยู่ด้านหลังพลับพลาเทียนอันเหมิน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือจรดใต้ 961 เมตร กว้าง 753 เมตร มีกำแพงวังล้อมรอบ ยาว 3 กิโลเมตร สูง 10 เมตร มีคูน้ำล้อมรอบ กว้าง 52 เมตร มีประตูวัง 4 ประตู 4 ทิศ มีป้อมหอคอยกำแพงวังอยู่ 4 มุม มีพื้นที่ทั้งหมด 724,250 ตารางเมตร มีตำหนักน้อยใหญ่ถึง 9,999 ห้อง
สร้างในสมัยพระเจ้าหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เมื่อปี ค.ศ. 1406 เป็นที่ประทับของกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิงและชิง รวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ มีการบูรณะซ่อมแซมไปหลายครั้ง แต่ยังคงสถาปัตยกรรมเดิม มีความสมบูรณ์แบบที่สุด ใหญ่ที่สุดและรักษาไว้ได้ดีที่สุด รวมทั้งมีประวัติที่ยาวนานที่สุดในโลกอีกด้วย
ภายในพระราชวังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ วังหน้าและวังใน
- วังหน้าเป็นเขตที่ฮ่องเต้ออกว่าราชการ จัดงานพิธีต่างๆ รับเข้าเฝ้า
- วังในเป็นเขตหวงห้าม ผู้ชายห้ามเข้า ยกเว้นขันทีเท่านั้น






สร้าง เติมเสริมต่อเรื่อยมา กําแพงเมืองจีนในทุกวันนี้ส่วนใหญ่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยราชวงศ์หมิง การก่อสร้างกําแพงที่มีความยาวถึง ๖๐๐๐ กว่ากิโลเมตร บางแห่งยังต้องสร้างบนภูเขาทั้งสูงชันและสลับซับซ้อนอยู่เหนือระดับนํ้าทะเล ๑๐๐๐ กว่าเมตรในสมัยที่การลําเลียงขนส่ง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่เจริญนั้นจะลําบากยากเข็ญเพียงไร ก็ด้วยเหตุนี้เอง กําแพงเมืองจีนจึงได้ชื่อว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นหนึ่งในสถาปัตยกรรมของโลก กําแพงเมืองจีนประกอบด้วยด่าน กําแพง ป้อมรักษาการณ์และหอคอยจุดเพลิงสัญญาณ ด่านตั้งอยู่ตรงจุดสําคัญในเส้นทางคมนาคม มีกําแพงหลายชั้น มีทหารประจํารักษาอยู่เป็นจํานวนมากซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชาการทหาร ด่านจียงกวานที่ปาต๋าหลิ่งเป็นด่านสําคัญแห่งหนึ่งของกําแพงเมืองจีน กําแพงเมืองจีนโดยเฉลี่ยสูง ๗---๘ เมตร กว้าง ๕---๖ เมตร สันกําแพงด้านนอกมีเชิงเทินรูปฟันปลาเป็นที่กําบังตัว ข้าง ๆ เชิงเทินมีช่องมอง ใต้เชิงเทินมีช่องยิงลูกศร โดยทั่วไปบนที่สูงหรือบนยอดเขานอกกําแพง สร้างหอคอยสําหรับจุดเพลิงสัญญาณไว้เป็นระยะ ๆ ซึ่งเป็นสถานีส่งสัญญาณแจ้งเหตุทางทหารในสมัยโบราณแต่ละหอคอยรับส่งสัญญาณ กันเป็นทอด ๆ จนถึงเมืองหลวกำแพงเมืองจีน (จีนตัวเต็ม: 長城; จีนตัวย่อ: 长城; พินอิน: Chángchéng ฉางเฉิง) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล และพวกเติร์ก หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมือง จีนได้สำเร็จกํา แพงเมืองจีน---สิ่งก่อสร้างในสมัยโบราณของจีนที่มีชื่อเลื่องลือไปทั่วโลก นั้น ตอนที่มีความสําคัญทางยุทธศาสตร์ตอนหนึ่งชื่อว่า "ปาต๋าหลิ่ง" อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงปักกิ่ง ห่างจากตัวเมืองกรุงปักกิ่งประมาณ ๘๐ กิโลเมตร กําแพงเมืองจีนมีความยาวทั้งหมด ๖๗๐๐ กิโลเมตร กําแพงเมืองจีนเริ่มสร้างในสมัยจ้านกว๋อ เวลานั้น ก๊กเยี่ยน ก๊กจ้าวและก๊กฉินในภาคเหนือของจีนต่างได้สร้างกําแพงของตนขึ้นในที่ที่มี ความสําคัญทางยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันการบุกรุกของก๊กใกล้เคียงและเผ่าชนเร่ ร่อนเลี้ยงสัตว์ทางเหนือหลังจากจักรพรรดิฉินสื่อหวงรวมประเทศจีนเข้าเป็น เอกภาพเมื่อ ๒๒๑ปีก่อนคศ. ก็ได้เชื่อมต่อกําแพงที่ก๊กต่าง ๆ สร้างไว้เข้าด้วยกันและสร้างต่อเติมขึ้นอีก ครั้นถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์สุย ราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิงก็ได้ซ่อมแซมและงหรือ เขตป้องกันเมืองเขตใหญ่ ประกอบเป็นโครงข่าวสื่อสารอันสมบูรณ์ ถ้าเกิดมีข้าศึกมากลางวันก็สุมควัน มากลางคืนก็จุดไฟเป็นสัญญาณ กําแพงเมืองจีนในทุกวันนี้ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูดใจทั้งชาว จีนและชาวต่างประเทศ กำแพงเมืองจีนได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2530 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 11 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส







วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้วมรกต เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทร์ แต่แท้ที่จริงแล้ว พบเจอวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส
วัด พระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ







นครวัด (เขมร: អង្គរវត្ត) เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึง ปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิษณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร
ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม
ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดสู่สายตาชาวโลกนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา ที่จริงชาวกัมพูชาไม่เคยละทิ้งนครวัดไปเพราะหลังจากมีการย้ายเมืองหลวงมา อยู่ที่พนมเปญแล้ว ชาวบ้านก็ได้เขาไปตั้งรกรากภายในเขตนครวัดเรื่อยมา ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก



 





มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น